นโยบายความเป็นส่วนตัว

1. วัตถุประสงค์

   บริษัทได้จัดให้มีนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ (“นโยบาย”) ขึ้นเพื่อให้พนักงานได้ทราบถึงนโยบายของบริษัทเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม การใช้ และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน ตาม พ.ร.บ. โดยเป็นการแจ้งให้พนักงานทราบถึงประเภทของข้อมูลที่มีการเก็บรวบรวม วัตถุประสงค์ในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล และลักษณะการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลต่อบุคคลภายนอกหรือบริษัทในเครือ รวมไปถึงสิทธิของพนักงานในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และหน้าที่ในการรักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะพนักงานของบริษัทเป็นต้น

 

2. นิยามศัพท์

   “ข้อมูลส่วนบุคคล”   หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรม

   “ข้อมูลอ่อนไหว”   หมายถึง ข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึง แต่ไม่จำกัดอยู่เพียง ข้อมูลเกี่ยวกับ เชื้อชาติ ความเห็นทางการเมือง ความเชื่อทางศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ข้อมูลชีวภาพ เป็นต้น

   “บริษัท”   หมายถึง บริษัท บริดจสโตน ไทร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด

   “บริษัทในเครือ”    หมายถึง นิติบุคคล ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแล หรือมีบริษัทดังต่อไปนี้เป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมาก ได้แก่ บริษัท Bridgestone Asia Pacific Pte. Ltd. หรือ บริษัท Bridgestone Corporation

   “พ.ร.บ.”   หมายถึง พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 รวมไปถึงกฎหมายลำดับรองที่ได้ออกภายใต้พระราชบัญญัติดังกล่าวที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่ได้มีการแก้ไขในอนาคต

   “พนักงาน”   หมายถึง พนักงานที่มีสัญญาจ้างแรงงานกับบริษัท และให้หมายความรวมไปถึงพนักงานตามสัญญาจ้างที่มาจากการจ้างงานผ่านบริษัทผู้ให้บริการจัดหาแรงงานด้วย

 

3. ขอบเขตการบังคับใช้

   นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ใช้บังคับนับแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป โดยให้มีผลเป็นการยกเลิกนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับก่อนหน้า เลขที่ RP-GAS-036 Rev.01 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2020  ทั้งนี้ นโยบายการคุ้มครองส่วนบุคคลฉบับนี้ใช้บังคับกับพนักงานทุกตำแหน่งและทุกระดับชั้น

 

4. การเปลี่ยนแปลง

   บริษัทอาจเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่บริษัทเห็นสมควร โดยการประกาศแจ้งการแก้ไขให้ทราบทั่วกัน

 

5. แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล

   โดยทั่วไปแล้วบริษัทจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากพนักงานโดยตรง เว้นแต่บางกรณีที่บริษัทอาจได้ข้อมูลส่วนบุคคลมาจากแหล่งอื่น ซึ่งบริษัทจะได้ดำเนินการขอความยินยอม หรือแจ้งให้ท่านทราบถึงการได้มาดังกล่าวภายในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. เว้นแต่เป็นกรณีที่ พ.ร.บ. กำหนดยกเว้นให้ไม่ต้องแจ้ง

ข้อมูลส่วนบุคคลที่มาจากแหล่งอื่น อาจมาจากแหล่งดังต่อไปนี้ (รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง)

ก. บริษัทในเครือ อาทิเช่น ข้อมูลการปฎิบัติงานเพื่อใช้ในการประเมินการทำงาน

ข. สถานพยาบาล อาทิเช่น ข้อมูลสุขภาพของหรือการรักษาพยาบาลของพนักงานเมื่อพนักงานทำเรื่องขอใช้สิทธิสวัสดิการเบิกค่ารักษาพยาบาล

ค. บริษัทประกัน อาทิเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

ง. หน่วยงานราชการ อาทิเช่น ข้อมูลประวัติอาชญากรรม

 

6. ฐานทางกฎหมายที่บริษัทใช้ในการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

6.1 ฐานการปฎิบัติตามสัญญา

บริษัทอาจจัดเก็บ รวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามสัญญาจ้างแรงงานระหว่างพนักงานกับบริษัท อาทิเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการปฎิบัติงาน ข้อมูลบัญชีธนาคารเพื่อการจ่ายเงินเดือนและสวัสดิการ  

6.2 ฐานการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย 

บริษัทมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการของบริษัท อาทิเช่น กฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายประกันสังคม กฎหมายภาษีอากรเป็นต้น อาทิเช่น การจัดเก็บข้อมูลสุขภาพเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย การประมวลผลเงินได้เพื่อคำนวณภาษีอากรและเงินประกันสังคม

6.3 ฐานความยินยอม

ในบางกรณี เช่น การจัดเก็บข้อมูลอ่อนไหว บริษัทจะขอความยินยอมเพื่อการเก็บ รวบรวม ใช้ เปิดเผย ข้อมูลอ่อนไหวเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนที่จะดำเนินการดังกล่าว อาทิเช่น การจัดเก็บข้อมูลลายนิ้วมือ หรือการจดจำใบหน้าเพื่อใช้ในการแสกนเข้าออกสำนักงาน เป็นต้น

6.4 ฐานประโยชน์อันชอบธรรม

บริษัทอาจจัดเก็บ รวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานเพื่อประโยชน์อันชอบธรรมของบริษัท เท่าที่ไม่เกินขอบเขตที่พนักงานจะสามารถคาดหมายได้อย่างสมเหตุสมผล อาทิเช่น การบันทึกภาพและเสียงเพื่อการรักษาความปลอดภัยโดยกล้องวงจรปิด

6.5 ฐานทางกฎหมายอื่นๆ ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.

อาทิเช่น การปฎิบัติตามคำสั่งศาล การกระทำเพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น

 

7. ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย

     ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยสำหรับพนักงานแต่ละรายอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง หน้าที่ การใช้สิทธิสวัสดิการพนักงาน ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเฉพาะข้อมูลตามที่ระบุเอาไว้ในเอกสารแนบ 1

 

8. วัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และ การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์

     บริษัทจะทำการเก็บ รวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล รวมไปถึงข้อมูลอ่อนไหวของพนักงานเพื่อประโยชน์ในการปฎิบัติตามสัญญาจ้างแรงงาน การปฎิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบังคับ การให้สวัสดิการและสิทธิประโยชน์แก่พนักงาน รวมไปถึงการดำเนินการอื่น ๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น

     ในกรณีที่บริษัทมีความประสงค์ที่จะทำการเก็บ รวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้วัตถุประสงค์อื่น ๆ นอกเหนือไปจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น บริษัทจะทำการขอรับความยินยอมจากท่านก่อน

 

9. การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

     บริษัทอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านภายใต้หลักเกณฑ์ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. แก่หน่วยงานดังต่อไปนี้

ก. หน่วยงานราชการเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย อาทิเช่น กรมสรรพากรในเรื่องของการยื่นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หรือสำนักงานประกันสังคมเพื่อนำส่งข้อมูลผู้ประกันตน

ข. บริษัทในเครือเพื่อการประเมินการทำงาน หรือการโยกย้ายตำแหน่งงานตามความเหมาะสม เป็นต้น

ค. บุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงาน หรือการจัดหาสวัสดิการพนักงาน อาทิเช่น บริษัทหรือธนาคารที่ให้บริการจัดการโอนจ่ายเงินเดือนเข้าบัญชีพนักงานทุก ๆ เดือนเป็นต้น บริษัทรับประกันสุขภาพพนักงานแบบกลุ่ม

ง. คู่ค้า ลูกค้า หรือบุคคลภายนอก ในกรณีที่งานที่ท่านทำให้บริษัทต้องมีการติดต่อประสานงานกับคู่ค้าหรือลูกค้าของบริษัท

 

10. การส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ

     เนื่องจากการดำเนินงานของบริษัทและบริษัทในเครือในปัจจุบันมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอยู่ตลอดเวลา บริษัทอาจมีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังต่างประเทศโดยบริษัทจะปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ความคุ้มครองที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.

 

11. ระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูล

     บริษัทจะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตลอดระยะเวลาในระหว่างที่ท่านมีสถานะเป็นพนักงานของบริษัท หรือยังคงให้บริการในลักษณะเป็นพนักงานของบริษัทอยู่ และบริษัทจะยังคงเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไว้ต่อไปหลังจากท่านสิ้นสุดสถานะการเป็นพนักงานแล้วอีกเป็นระยะเวลาตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องหรืออายุความกำหนด โดยท่านสามารถตรวจสอบระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลแต่ละประเภทได้ตามเอกสารแนบ 1

 

12. การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

     บริษัทมีมาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลและบังคับใช้นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเข้มงวด เพื่อรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานให้ปลอดภัย โดยมาตรการรักษาความปลอดภัยดังกล่าวรวมไปถึง การเข้ารหัสข้อมูล การจำกัดตัวบุคคลผู้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ อีกทั้งยังกำหนดให้ผู้ให้บริการแก่บริษัทจะต้องมีมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยในระดับที่เหมาะสม

 

13. สิทธิของพนักงานในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และการติดต่อบริษัท

13.1 สิทธิของพนักงาน

ก. สิทธิในการเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยอยู่

ข. สิทธิในการขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน หรือครบถ้วน

ค. สิทธิในการขอให้ลบข้อมูลส่วนบุคคล หรือทำให้เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้

ง. สิทธิในการขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การขอให้บริษัทระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในระหว่างที่ท่านใช้สิทธิตามหัวข้ออื่น หรือการขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลแทนการลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลเนื่องจากพนักงานอาจมีความจำเป็นต้องเก็บข้อมูลดังกล่าวเอาไว้เพื่อการใช้สิทธิทางกฎหมายในอนาคต

จ. สิทธิในการคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

ฉ. สิทธิในการขอรับหรือขอให้ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคล โดยการขอให้บริษัทจัดทำข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานได้โดยทั่วไปด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลผ่านการโอนข้อมูลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์                        

ช. สิทธิในการถอนความยินยอมที่ได้ให้ไว้ก่อนหน้า

ซ.สิทธิในการร้องเรียนต่อคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหากพนักงานเห็นว่าบริษัทไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.

13.2 ผลกระทบอันเนื่องมาจากการใช้สิทธิ การเพิกถอนสิทธิ การปฏิเสธหรือระงับความยินยอม

ในกรณีที่พนักงานใช้สิทธิดังกล่าวในหัวข้อก่อนหน้า อาทิเช่น การเพิกถอน หรือระงับความยินยอมในการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ปฏิเสธหรือระงับความยินยอม อาจทำให้บริษัทไม่สามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลต่อไปได้ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทอาจไม่สามารถจ่ายเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลให้แก่ท่านได้ในกรณีที่ท่านปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลการรักษาพยาบาลแก่บริษัท เป็นต้น

13.3 ช่องทางการขอใช้สิทธิ

พนักงานสามารถใช้สิทธิได้โดยการกรอกแบบฟอร์มผ่านระบบตอบรับที่ https://privacy.bridgestone.co.th/pdpa/ticketform.php ได้ตลอดทุกวันและเวลา

ในกรณีที่พนักงานไม่สะดวกที่จะใช้สิทธิโดยการกรอกแบบฟอร์มผ่านระบบดังกล่าว ท่านสามารถติดต่อฝ่ายกฎหมายและการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เพื่อแจ้งความประสงค์ในการใช้สิทธิ หรือขอรับคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้

13.4 การพิจารณาคำร้องขอใช้สิทธิของพนักงาน

เมื่อพนักงานส่งคำร้องขอใช้สิทธิในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทจะขอให้พนักงานทำการพิสูจน์ตัวตนและขอให้จัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องให้เรียบร้อยก่อนที่จะเริ่มดำเนินการตามที่พนักงานร้องขอ

กำหนดระยะเวลาดำเนินการตามคำร้องขอของพนักงานจะเริ่มนับหลังจากที่บริษัทได้รับเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไว้แล้ว และบริษัทอาจปฏิเสธที่จะดำเนินการตามคำร้องขอของพนักงานในกรณีดังต่อไปนี้ (1) บริษัทไม่ได้รับเอกสารตามที่ร้องขอภายในเจ็ดวันทำการ (2) พนักงานไม่สามารถแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนได้ว่าเป็นเจ้าของข้อมูลที่มีอำนาจในการยื่นคำร้องขอ (3) บริษัทไม่มีข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ร้องขอจัดเก็บไว้ที่บริษัท (4) คำร้องขอดังกล่าวเป็นคำร้องขอฟุ่มเฟือย ไม่สมเหตุสมผล หรือ (5) ข้อมูลที่พนักงานร้องขอเป็นการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลอื่นไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม

ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทอาจปฏิเสธการดำเนินการตามคำร้องขอของพนักงานหากการเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเป็นกรณีที่ได้รับยกเว้นตาม พ.ร.บ. โดยอาจพิจารณาปฏิเสธที่จะดำเนินการตามคำขอทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งบริษัทจะแจ้งให้พนักงานทราบพร้อมคำอธิบายต่อไป ในกรณีทั่วไป บริษัทจะดำเนินการตามคำร้องโดยไม่มีค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม บริษัทอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราที่เห็นว่าเป็นธรรมสำหรับคำร้องซึ่งมีลักษณะฟุ่มเฟือย ปราศจากมูลเหตุ หรือไม่สมเหตุสมผล

 

14. หน้าที่ของพนักงานเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล

14.1 หน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

ก. ปฏิบัติตามนโยบายการรักษาความปลอดภัย

พนักงานทุกคนมีหน้าที่ในการปฏิบัติตามนโยบายการรักษาความปลอดภัยที่บริษัทกำหนดเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในรูปของเทคโนโลยีสารสนเทศ หรืออยู่ในรูปของวัตถุที่จับต้องได้ โดยนโยบายที่เกี่ยวข้องรวมถึง แต่ไม่จำกัดอยู่เพียง นโยบายการจัดการความลับทางการค้า และระเบียบการจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น

ข. การแยกและจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลออกจากข้อมูลทั่วไป

พนักงานมีหน้าที่แยกการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลออกจากข้อมูลทั่วไป และใช้มาตรการที่เหมาะสมที่จะจำกัดการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเฉพาะแต่บุคคลผู้มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเท่านั้น อาทิเช่น การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในรูปของเอกสารไว้ในตู้เก็บเอกสารที่สามารถปิดล๊อคได้ การเก็บข้อมูลที่อยู่ในรูปของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ไว้ในโฟลเดอร์ที่จำกัดสิทธิการเข้าถึง และผ่านการเข้ารหัสเพื่อการเข้าถึงไฟล์ เป็นต้น

14.2 หน้าที่ในการแจ้งเมื่อพบเห็น หรือมีข้อสงสัยว่ามีการกระทำผิด หรือมีการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล

พนักงานทุกคนมีหน้าที่ในการสอดส่องดูแล และรายงานในทันทีเมื่อพบการกระทำที่เป็นที่น่าสงสัย การกระทำความผิด หรือการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล โดยแจ้งไปยังพนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประจำบริษัทโดยเร็วที่สุด

กรุณางดเว้นการแจ้งเหตุผ่านช่องทางการติดต่อสื่อสารที่อาจใช้เวลามาก อาทิเช่น กล่องรับเรื่องราวร้องทุกข์ เนื่องจากอาจทำให้บริษัทมีเวลาจำกัดในการควบคุมความเสียหายที่เกิดขึ้น หรือทราบถึงเหตุการณ์ช้าเกินไป

บริษัทให้ความสำคัญในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น พนักงานทุกระดับ และทุกตำแหน่ง มีหน้าที่ในการให้ข้อมูล และให้ความร่วมมือกับการสืบสวนสอบสวน ในกรณีที่เกิดการกระทำความผิด หรือการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลโดยพนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประจำบริษัท

 

15. การเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้มีขึ้นก่อนวันที่นโยบายฉบับนี้มีผลใช้บังคับ

     บริษัทมีสิทธิในการเก็บ รวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทได้เก็บ รวมรวม ใช้ และเปิดเผยก่อนวันที่นโยบายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ต่อไป กรณีที่พนักงานไม่ประสงค์ที่จะให้บริษัทเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวอีกต่อไป พนักงานสามารถแจ้งต่อบริษัทเพื่อแสดงความประสงค์ดังกล่าวได้ตามหัวข้อที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

     ทั้งนี้ หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ ท่านสามารถติดต่อสอบถามไปยัง พนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประจำบริษัท  หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายฯ ได้ตลอดเวลา

Loading...